จุดซ่อนเร้นที่คุณผู้หญิงทุกคนให้ความสำคัญและดูแลรักษาเป็นอย่างดี คงหนีไม่พ้นช่องคลอด เพราะเป็นอวัยวะที่สำคัญในร่างกายของสุภาพสตรี ซึ่งวันนี้ .. คลินิกสูตินรีเวช รพ.ราชธานี นำวิธีดูแลสุขภาพช่องคลอด มาฝากคุณผู้หญิง เพื่อจะเริ่มต้นดูแลสุขภาพของช่องคลอดได้อย่างถูกวิธี 1) ทำความสะอาด .. อย่างถูกวิธี ไม่ควรสวนล้างภายในช่องคลอดเนื่องจากทำให้ค่า pH ในช่องคลอดเสียสมดุล ส่งผลให้แบคทีเรียชนิดดีถูกรบกวน และอาจนำไปสู่ปัญหาเรื่องกลิ่นไม่พึ่งประสงค์ได้ รวมถึงไม่ควรใช้สบู่ที่มีฤทธิ์รุนแรงในการล้างภายในช่องคลอดด้วย 2) ร่วมรัก .. อย่างปลอดภัย ใช้ถุงยางอนามัยเพื่อป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และการติดเชื้อบริเวณอวัยวะเพศ…
ฮอร์โมนภายในร่างกายที่เปลี่ยนแปลง .. สามารถนำไปสู่อาการ และพฤติกรรมหลายอย่าง ที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของคุณผู้หญิง วันนี้ .. คลินิกสูตินรีเวช รพ.ราชธานี รวม 3 สัญญาณเตือน ที่สอดคล้อง กับฮอร์โมนเพศหญิงที่เปลี่ยนแปลง มาแชร์ให้คุณผู้หญิงได้ทราบกัน 1) ประจำเดือนมาไม่ปกติ / ไม่สม่ำเสมอ ประจำเดือนมาไม่ปกติอาจเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในผู้หญิงหลายคน แม้บางครั้งมักจะถูกมองข้ามไป เพราะผู้หญิงส่วนใหญ่ไม่ค่อยชอบช่วงเวลาที่มีประจำเดือน เนื่องจากคิดว่าไม่ค่อยสะดวกในการใช้ชีวิต 2) ร้อนวูบวาบ…
ร่างกายและอวัยวะต่าง ๆ ต่างต้องเสื่อมโทรมและถดถอยไปตามกาลเวลา สายตาของเราก็เช่นกัน การรู้เท่าทัน ‘โรคจอตาเสื่อมในผู้สูงวัย’ หรือ AMD จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรละเลย ปัจจัยด้านใดบ้างที่เสี่ยงให้เกิดโรคจอตาเสื่อมในผู้สูงวัย .. มาดูกันเลย ! 1) อายุ (age) พบมากในผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป หากอายุมากกว่า 75 ปี จะมีความเสี่ยงเป็น 3 เท่า (ของกลุ่มที่มีอายุ 65 –…
ผู้สูงอายุที่มีปัญหาเกี่ยวกับสายตาคอยกวนใจ ส่วนใหญ่มักจะเกี่ยวกับโรคทางดวงตาต่อไปนี้ … 1) ต้อกระจก (Cataract) เกิดขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น ทำให้เลนส์แก้วตาแข็งและขุ่นขึ้น จึงทำให้สายตาจึงมัวลง อาการที่พบได้บ่อย ได้แก่ สายตามัวหรือเห็นภาพซ้อน จะมัวเหมือนมีฝ้าหรือหมอกบัง เห็นสีผิดไปจากเดิม ตาสู้แสงไม่ได้ ทำให้มีปัญหาในการขับขี่ยานพาหนะโดยเฉพาะกลางคืน 2) ต้อหิน (Glaucoma) เกิดจากความเสื่อมของเส้นประสาทตา ส่วนใหญ่จะมีความดันลูกตาสูง ซึ่งอาการที่สามารถสังเกตได้ คือจะปวดตา ตามัวลง และเห็นรุ้งรอบดวงไฟ ในกรณีเป็นต้อหินแบบรุนแรงเฉียบพลัน อาจมีอาการปวดศีรษะ คลื่นไส้หรืออาเจียนร่วมด้วยได้ เนื่องมาจากความดันตาสูงมาก 3)…
วันนี้โรงพยาบาลราชธานีรวม 3 วิธีดูแลดวงตาให้ปลอดภัยจากเชื้อโควิด-19 มาฝากกัน 1) ระวังเรื่อง ‘คอนแทคเลนส์’ ควรระมัดระวังในขั้นตอนการใส่ให้ถูกสุขลักษณะ เพื่อป้องกันการติดต่อของเชื้อ ก่อนใส่คอนแทคเลนส์ต้องล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่อย่างน้อย 20 วินาที และเช็ดมือให้แห้งด้วยกระดาษเช็ดมือที่สะอาด รวมถึงถอดล้างทำความสะอาดคอนแทคเลนส์ให้ถูกวิธี * หมายเหตุ : American Optometric Association (AOA) ระบุว่า .. ปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานว่าคนที่ใส่คอนแทคเลนส์มีความเสี่ยงในการติด COVID-19…
โรคกล้ามเนื้อหัวใจพิการหรือกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบจากไวรัส อาจเป็นตั้งแต่กำเนิดหรือเกิดจากภายหลังก็ได้ ในกลุ่มที่เป็นภายหลังชนิดที่พบมากที่สุด คือ กล้ามเนื้อหัวใจพิการโดยไม่ทราบสาเหตุ ซึ่งยังสามารถแบ่งได้อีก 3 ชนิด ดังนี้ กล้ามเนื้อหัวใจหนาผิดปกติ กล้ามเนื้อหัวใจพิการขยายตัวไม่ดีเท่าปกติ(เกิดจากโรคบางชนิดที่เข้าไปแทรกในกล้ามเนื้อหัวใจ) กล้ามเนื้อหัวใจไม่หนาแต่หัวใจขยายตัวโตขึ้นบีบตัวได้ไม่ดีเท่าปกติโรคนี้ผลจากความสามารถในการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจลดลง ทำให้เลือดไปเลี้ยงอวัยวะในร่างกายไม่เพียงพอ ร่างกายจึงปรับตัวโดยเพิ่มขนาดของหัวใจเพื่อเพิ่มปริมาณเลือดที่บีบออกจากหัวใจ ทำให้หัวใจผู้ป่วยด้วยโรคนี้มีขนาดหัวใจที่โตมาก หรือที่ทางการแพทย์เรียกว่า “ Dilated Cardiomyopathy” นั่นเอง แพ็กเกจสุขภาพที่เกี่ยวข้อง การผ่าตัดหลอดเลือดหัวใจบายพาส (CABG) ขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูน ฉีดสีหลอดเลือดหัวใจ (CAG)
การฝึกปฐมพยาบาลเบื้องต้น เป็นทักษะสำคัญที่จะช่วยให้เรารับมือกับสถานการณ์ที่ไม่คาดคิดได้อย่างถูกต้อง วันนี้โรงพยาบาลราชธานีมีแนวทางการปฐมพยาบาลเบื้องต้นมาฝากกัน เพื่อจะพร้อมรับมือกับเหตุฉุกเฉินที่เกินขึ้นได้ตลอดเวลา 1) แขนหรือขาหัก ประคบน้ำแข็งหรือยกแขน/ขาขึ้นเหนือหัวใจ หากผู้ป่วยมีแผลเปิด ให้ใช้ผ้าพันแผลปลอดเชื้อพันไว้และรีบเข้ารับการรักษาจากแพทย์ทันที 2) หัวแตก ใช้ผ้าพันแผลปลอดเชื้อหรือผ้าสะอาดกดแผลไว้ 15 นาที (หากเป็นไปได้ให้ล้างมือหรือสวมถุงมือกันเชื้อโรคก่อน) ถ้าบาดแผลมีอาการบวม สามารถบรรเทาได้ด้วยการประคบน้ำแข็ง 3) เป็นลม เริ่มจากการจัดท่าทางให้ผู้ป่วยนอนหงายราบและยกขาขึ้นอยู่เหนือระดับหัวใจ (ประมาณ 30 เซนติเมตร) เพื่อให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงสมองง่ายขึ้น รวมทั้งปลดเข็มขัด, ปกคอเสื้อหรือเสื้อผ้าส่วนอื่น…
ผลกระทบจากอุบัติเหตุ บางกรณีอาจจำเป็นต้องมีการผ่าตัดฉุกเฉิน ข้อมูลเกี่ยวกับการเตรียมพร้อมสำหรับผ่าตัดจึงจำเป็นกับทุกคน ทางโรงพยาบาลราชธานี จึงขอนำเสนอ 3 เรื่องที่ควรรู้ เพื่อเตรียมตัวก่อนผ่าตัด 1) ก่อนผ่าตัด ๐ แจ้งประวัติ เกี่ยวกับโรคประจำตัว การแพ้ยาและปัญหาสุขภาพอื่นๆ ๐ กรณีเป็นผู้ป่วยหญิง ถ้าตั้งครรภ์หรือสงสัยว่าตั้งครรภ์ ต้องแจ้งให้แพทย์ทราบ ๐ ติดต่อญาติที่บรรลุนิติภาวะ เพื่อรับผิดชอบและดูแลผู้ป่วยที่โรงพยาบาล 2) ระหว่างผ่าตัด เมื่อใกล้เวลาผ่าตัด ทีมวิสัญญีแพทย์จะติดอุปกรณ์เพื่อตรวจชีพจร…
ผลกระทบจากอุบัติเหตุส่วนใหญ่ มักทำให้ผู้ประสบเหตุต้องเสียเลือด การห้ามเลือดตามหลักการปฐมพยาบาลเบื้องต้นก่อนนำตัวส่งโรงพยาบาล จึงเป็นสิ่งที่จะช่วยให้ผู้ป่วยไม่เสียเลือดมากจนเกิดอันตรายที่ถึงแก่ชีวิต โรงพยาบาลราชธานีจึงขอนำเสนอ 3 วิธีการห้ามเลือด ที่ถูกต้องตามหลักการปฐมพยาบาล 1) การกดบาดแผลโดยตรง เป็นวิธีที่ใช้กันแพร่หลาย เนื่องจากสามารถระงับการไหลของเลือดจากบาดแผลได้อย่างได้ผล ซึ่งวิธีนี้ใช้นิ้วมือกดลงบนบาดแผลโดยตรงหรือใช้ผ้าสะอาดปิดปากแผลแน่น ๆ 2) ยกอวัยวะที่มีบาดแผลให้สูงกว่าระดับหัวใจ เป็นการห้ามเลือดโดยการลดแรงการไหลของเลือดให้ช้าลง ซึ่งควรใช้วิธีนี้ควบคู่ไปกับเทคนิคการใช้แรงกด 3) การขันชะเนาะหรือสายรัดห้ามเลือด วิธีการทำไม่ควรให้ชิดบาดแผลจนเกินไป ไม่รัดแน่นหรือหลวมเกินไป เมื่อรัดแล้วให้ยกปลายแขนหรือปลายขา และคลายสายรัดออกเป็นพัก ๆ *ข้อควรระวัง :…
แม้การผ่าตัดผ่านกล้องจะเป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพสูง แต่ก็มีข้อควรระวังด้วยเช่นกัน อยากรู้ว่ามีอะไรบ้าง ? ไปดูกันเลย ! 1) งดดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ อย่างน้อย 24-48 ชั่วโมงหลังผ่าตัด เพราะว่าจะทำให้แผลหายช้าและแผลอาจอักเสบได้ 2) งดการมีเพศสัมพันธ์ เป็นระยะเวลาประมาณ 6 สัปดาห์หลังการผ่าตัด (สำหรับการผ่าตัดเพื่อทำการรักษาด้านสูตินรีเวช) 3) หลีกเลี่ยงการขับรถ เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 7-10 วัน หลังผ่าตัด เพราะอาจจะได้รับแรงกระแทกระหว่างขับรถ…